Callcenter: 088-004-0005

Line ID: @starclinic

Open Daily 11:00 - 21:00

เว็บไซต์นี้สำหรับสมาชิกสตาร์คลินิกเท่านั้น

การดูแลตัวเองหลังคลอดการดูแลตัวเองหลังคลอด

  • การดูแลตัวเองหลังคลอด

     

    คุณแม่ทุกคนหลังคลอดมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแล ไม่ว่าจะจากพยาบาล สามี แต่สิ่ง

     

    สำคัญตัวคุณแม่เองก็ต้องดูแลร่างกายของตัวเองร่วมด้วยเช่นกันเพราะบางอย่างบุคลลอื่นก็ไม่สามารถ

     

    ทำให้คุณแม่ได้ดีเท่าคุณแม่ทำด้วยตัวเอง แล้วจะมีอะไรบ้างที่ต้องทำต้องดูแลหลังคลอด และบางสิ่งบาง

     

    อย่างหรือบางข้อ ทาง Star Clinic สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณแม่ได้ด้วยนะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย

     

    ค่ะ

     

     

     

     

    1. การเคลื่อนไหวร่างกายหลังคลอด หลังการคลอดไม่มีการห้ามไม่ให้คุณแม่เคลื่อนไหวนะคะ เดินไป

     

    ห้องน้ำเองบ้าง ไปล้างหน้าและแปรงฟันบ้าง ฝึกดูแลลูกบ้าง การเดินไปไหนมาไหน หรือขึ้นลงบันไดก็

     

    ย่อมทำได้ครับ และถ้าครบเดือนไปแล้วก็ขับรถไปทำงานได้ตามปกติ

     

     

    2. การดูแลแผลฝีเย็บ หลังการคลอด คุณแม่จะมีความรู้สึกปวดแผลฝีเย็บซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ส่วนการ

     

    อบแผลด้วยความร้อนและการอาบน้ำอุ่นก็จะช่วยให้อาการบวมที่แผลลดน้อยลงและช่วยบรรเทาอาการเจ็บ

     

    แผลได้เช่นกัน

     

    3. การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของคนไทยได้ทำสืบต่อกันมาอย่างยาวนานจนบางคนเรียกระยะหลังคลอด “ระยะ

     

    อยู่ไฟ” เพราะเชื่อกันว่าการอยู่ไฟจะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการ

     

    อาการปวดและบำบัดโรคหลังคลอด และในระหว่างการอยู่ไฟจะทำให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อมาก จึงอาจ

     

    ทำให้ร่างกายขาดน้ำ คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้มากขึ้นกว่าเดิม

     

    4. การนั่งและยืนให้ถูกท่า ผู้หญิงเวลานั่งบริเวณฝีเย็บจะโดนน้ำหนักตัวทับลงกับพื้น นั่งที่ดีที่สุดก็คือ “ท่า

     

    นั่งพับเพียบ” เพราะการนั่งท่านี้จะไม่ทำให้เจ็บแผลมาก แต่ถ้ายังนั่งไม่ถนัดก็ให้คุณแม่หาเบาะนุ่ม ๆ หรือ

     

    หมอนรองนั่งมารองก็ได้

     

     

     

     

    5. การให้นมลูก คุณแม่ควรกระตุ้นให้น้ำนมไหลด้วยการให้ทารกดูดนมทันทีหลังคลอดและดูดบ่อย ๆ ทุก

     

    2 ชั่วโมง สลับข้างกัน ไม่ควรให้น้ำร่วมด้วยเพราะจะทำให้ลูกน้อยอิ่มเร็ว ไม่ค่อยดูดนม คุณแม่ไม่ควรเลี้ยง

     

    ลูกด้วยนมแม่สลับกับขวดนม เพราะจะทำให้เด็กติดหัวนมยางได้

     

    6. การดูแลเต้านม ในช่วงหลังคลอดและให้นมลูก เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดและน้ำหนักมากเป็น 3 เท่า

     

    ของเต้านมปกติ ทำให้เอ็นที่พยุงเต้านมเกิดการยืด คุณแม่จึงควรสวมยกทรงพยุงไว้เพื่อช่วยป้องกันการ

     

    หย่อนยานและลดความเจ็บปวด และควรให้เต้านมแห้งสะอาดก่อนสวมชั้นในทุกครั้ง คุณแม่ไม่ควรสวม

     

    ยกทรงแบบที่เป็นโครงเหล็ก เพราะอาจจะไปกดทับท่อน้ำนม คุณแม่ควรใช้สำลีชุบน้ำหรือโลชั่นทำความ

     

    สะอาดเต้านม ไม่ควรใช้สบู่เพราะจะทำให้หัวนมแตกและเจ็บได้

     

     

    7. การรักษาความสะอาดของร่างกาย ถ้าเป็นการคลอดทางช่องคลอดปกติ คุณแม่สามารถอาบน้ำสระผม

     

    ได้ตามปกติ อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพราะในระหว่างรอคลอด

     

    และการคลอด นอกจากคุณแม่จะได้ใช้พลังงานในการเบ่งคลอดไปมากแล้วยังทำให้ร่างกายมีเหงื่อไคล

     

    ซึ่งอาจหมักหมมได้ แต่สิ่งที่ควรระวังสำหรับการอาบน้ำก็คือ อย่าแช่น้ำนานเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกาย

     

    เจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากร่างกายในช่วงหลังคลอดยังอ่อนเพลียอยู่ ส่วนการเข้าห้องน้ำก็ต้องระวังเรื่องการ

     

    ลื่นล้ม เพราะร่างกายอ่อนเพลียที่อาจทำให้คุณแม่หน้ามืดเป็นลมได้ง่าย และควรล้างมือให้สะอาดก่อน

     

    สัมผัสอวัยวะเพศ เพราะอวัยวะเพศจะมีแผลทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

     

     

     

     

     

    8.การเปลี่ยนผ้าอนามัย ในช่วงหลังคลอดน้ำคาวปลาจะออกมาก 2-3 วันแรก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ คุณแม่

     

    ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ โดยให้เปลี่ยนทันทีที่รู้สึกว่าผ้าอนามัยมีเลือดชุ่มหรือเปลี่ยนบ่อย ๆ ทุก ๆ 3

     

    ชั่วโมง เพื่อความสะอาดอยู่เสมอ อย่าให้เกิดการหมักหมมหรือมีกลิ่นเหม็น เพราะจะทำให้ฝีเย็บเกิดการ

     

    อักเสบได้ง่าย และควรดึงจากทางด้านหน้าไปด้านหลังทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

     

    ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายได้ (ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอด)

     

     

    9. อาหารการกินของคุณแม่หลังคลอด โดยทั่วไปอาหารสำหรับคุณแม่หลังคลอดควรจะเป็นอาหารที่ย่อย

     

    ง่าย รสไม่จัด และมีกากใยมาก เพื่อป้องกันอาการท้องผูก เนื่องจากในช่วงหลังคลอดระยะแรก ๆ ฮอร์โมน

     

    ที่ทำให้ท้องผูกยังออกฤทธิ์อยู่ (ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน) ประกอบกับระยะนี้คุณแม่ไม่อยากเบ่งอุจจาระ

     

    เพราะกลัวเจ็บแผล ก็ยิ่งมีโอกาสท้องผูกมากขึ้น ส่วนอาหารรสจัดก็ควรงดไปก่อน เพราะอาจทำให้คุณแม่

     

    ท้องเสียได้ง่าย สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ คุณแม่ต้อง

     

    คิดถึงปริมาณและคุณค่าที่จะได้รับอย่างเพียงพอในแต่ละวัน โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

     

    ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ ตับ นม ไข่ ผักและผลไม้สด ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะจะช่วยซ่อมแซม

     

    ร่างกายส่วนที่สึกหรอจากการคลอด ทำให้สุขภาพของคุณแม่กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม และช่วยให้มีสาร

     

    อาหารเพียงพอที่จะสร้างน้ำนมที่มีคุณภาพให้แก่ลูก

     

     

     

     

    10. ยาบำรุงหลังคลอด หลังคลอดแพทย์จะให้เฉพาะยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล และให้ยาบำรุงเลือด

     

    กลับไปรับประทานที่บ้านเท่านั้น ส่วนยาอื่น ๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่งไม่รับประทานโดยเด็ดขาด หลัง

     

    การคลอดร่างกายจะเสียเลือดไปมาก ซึ่งเลือดเหล่านี้มีธาตุเหล็กและแร่ธาตุต่าง ๆ ดังนั้น ยาที่ให้คุณแม่

     

    หลังคลอดจึงเป็นวิตามินรวมหรือวิตามินบีกับธาตุเหล็ก เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไปและเพื่อช่วยสร้างน้ำนม

     

    ให้แก่ลูก

     

     

     

     

    11. การพักผ่อนร่างกายหลังคลอด คุณแม่ควรพักผ่อนตามปกติเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่คุณแม่

     

    หลายคนที่เลี้ยงลูกเองอาจจะเหนื่อยและรู้สึกว่านอนไม่พออยู่บ้าง เพราะลูกร้องกวนต้องคอยดูแล ทำโน่น

     

    ทำนี่ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ควรพยายามหาโอกาสพักผ่อนในช่วงที่ลูกนอนหลับบ้าง โดยควรนอนหลับให้ได้รวม

     

    แล้วอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ในเวลากลางวันควรหลับบ้างขณะลูกหลับให้ได้ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ใน

     

    ขณะที่ให้นมลูกไม่ควรหลับ เพราะเต้านมอาจปิดจมูกจนลูกหายใจไม่ออกได้

     

    12. ดูแลสุขภาพจิตของคุณแม่หลังคลอด นอกจากการปรับตัวทางร่างกายแล้ว คุณแม่ยังต้องปรับจิตใจให้

     

    เข้ากับสภาพของการเป็นแม่ที่สมบูรณ์ด้วย ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ “สามี” ซึ่งจะต้องช่วย

     

    ดูแลประคับประคองเอาใจใส่ ให้กำลังใจ แสดงความห่วงใยต่อความไม่สบายใจและความกังวลใจของคุณ

     

    แม่หลังคลอด รวมถึงคอยช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่น กิจวัตรประจำวัน การช่วยเลี้ยงดูลูก เพื่อให้คุณแม่

     

    ได้มีโอกาสพักผ่อนบ้าง เป็นต้น

     

     

    13. การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด เพื่อเป็นการรักษาแผลที่ฝีเย็บ และเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก

     

    หมอจะให้งดมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งมาตรวจสุขภาพในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะคุณแม่กำลังปรับ

     

    ตัวเข้าหาลูกน้อย มีอารมณ์แปรปรวน หรือจิตใจยังพะวงอยู่กับลูกน้อย คุณแม่ก็ควรพูดคุยกับคุณพ่อเพื่อจะ

     

    ได้มีความเข้าใจร่วมกันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ผ่านช่วงนี้ไปได้ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรให้คุณพ่อสวมถุงยาง

     

    อนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการตั้งครรภ์

     

     

     

     

     

     

    14. การบริหารร่างกายหลังคลอด คุณแม่ที่คลอดตามปกติทางช่องคลอด หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วควร

     

    จะเริ่มต้นทำกายบริหารเพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ผนังท้อง

     

    ที่หย่อนยานหลังคลอด และผนังช่องคลอดที่หมอได้เย็บไว้ให้ดีแล้วจะไม่หย่อนยาน จึงขอให้เริ่มบริหาร

     

    ร่างกายได้ตั้งแต่วันที่สองหลังการคลอดเป็นต้นไป ส่วนคุณแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอดก็ควรรอให้ครบ 20

     

    วันก่อนแล้วจึงเริ่มบริหารร่างกายได้ ไม่ต้องรอให้นานกว่านี้ เพื่อให้ร่างกายกลับมากระชับเหมือนเดิมได้

     

    อย่างรวดเร็ว

     

    15. การฝึกขมิบช่องคลอด หลังการคลอดปากมดลูกจะกลับคืนสู่สภาพปกติภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนช่อง

     

    คลอดอาจจะกลับสู่สภาพปกติได้ไม่ดีนักถ้าหากขาดการออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณนี้ คุณแม่จึงควรฝึก

     

    ขมิบบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความกระชับของบริเวณช่องคลอดให้กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งการฝึกขมิบนี้คุณแม่

     

    สามารถทำได้ทันทีในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และควรเพิ่มจำนวนรอบให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่ม

     

    ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อพยุงช่องเชิงกราน ช่วยลดโอกาสการเกิดการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

     

    และลดโอกาสเกิดปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะราดในอนาคต (การขมิบจะคล้ายกับการกลั้นปัสสาวะ แล้วค่อย ๆ

     

    คลายออก ในแต่ละวันให้ทำอย่างสม่ำเสมอบ่อย ๆ

     

     

     

     

    16. การดูแลผิวพรรณหลังคลอด อาการท้องแตกลายนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและป้องกันได้

     

    ยาก ส่วนรอยดำคล้ำตามบริเวณข้อพับต่าง ๆ นั้นจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการ

     

    ตั้งครรภ์ ซึ่งรอยดำเหล่านี้จะค่อย ๆ จางลงในช่วงหลังคลอด คุณแม่ไม่ต้องพยายามขัดหรือถูออก เพราะ

     

    อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้ สำหรับรอยดำบางส่วนที่เห็นได้ชัด เช่น ลำคอ คุณแม่อาจใช้

     

    แป้งทาปกปิดได้บ้างครับ

     

    17. การดูแลผมหลังคลอด ในระยะหลังคลอดอาจเกิดอาการผมร่วงมากกว่าปกติ แต่ถือเป็นภาวะปกติและ

     

    เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ต้อง

     

    ตกใจหรือเป็นกังวลไป เพราะโดยทั่วไปแล้วอาการผมร่วงนี้จะหายไปเองภายใน 6-12 เดือน ซึ่งต่างกันใน

     

    แต่ละกรณี โดยจะมีผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่ คุณแม่จึงอาจถือโอกาสนี้ในการเปลี่ยนทรงผมใหม่ โดยอาจ

     

    ตัดผมสั้นซึ่งเป็นทรงที่ดูแลง่าย ทำให้คุณแม่ไม่ต้องหวีผมบ่อย จึงช่วยลดอาการผมร่วงได้ดีขึ้น แต่ถ้ามี

     

    อาการผมร่วงรุนแรงคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์

     

     

    18. การทำกิจกรรมของคุณแม่หลังคลอด ในช่วงสัปดาห์แรกคุณแม่ไม่ควรทำงานหนักหรือยกของหนัก ๆ

     

    ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะจะทำให้มดลูกหย่อน ไม่ควรขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ หรือขับรถโดยไม่

     

    จำเป็น แต่คุณแม่สามารถทำงานเบา ๆ เช่น กวาดบ้าน ซักผ้า ล้างจานได้บ้าง เพื่อเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ

     

    และเป็นการออกกำลังกายไปด้วยในตัว ส่วนการทำงานตามปกติควรทำภายหลัง 4-6 สัปดาห์ และได้รับ

     

    การตรวจร่างกายหลังคลอดแล้ว

     

     

     

     

     

     

     

    19. คุณแม่ที่เป็นริดสีดวง ควรป้องกันไม่ให้ท้องผูกโดยการดื่มน้ำและรับประทานผักและผลไม้ให้ได้มาก ๆ

     

    (คุณแม่ที่มีอาการท้องผูกก็เช่นกัน) หากมีอาการปวดอาจประคบด้วยถุงน้ำแข็งเพื่อลดความเจ็บปวด แต่ถ้า

     

    ปวดมากอาจใช้ครีมหรือยาเหน็บตามที่แพทย์สั่ง

     

     

    20. หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด และเลือดที่ออกมาเป็นก้อน

     

    มักเกิดจากแผลในโพรงมดลูกบริเวณที่รกเกาะเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีหรือมีเศษรกตกค้างอยู่ในโพรง

     

    มดลูก), น้ำคาวปลาผิดปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้สูงหรือหนาวสั่น (อุณหภูมิสูงเกินกว่า 38 องศา

     

    เซลเซียส) และมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่นร่วมด้วยปัสสาวะแสบขัด

     

     

    และหากเกิดปัญหาต่างๆขึ้นอย่างเช่น ท้องแตกลาย หน้าท้องหย่อน หรือช่องคลอดแลดูไม่กระชับ ก็ไม่

     

    ต้องกังวลไปนะคะ เพราะที่ Star Clinic เราสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ค่ะ  อย่างหน้าท้องแตกลาย

     

    ทางเราก็มีโปรแกรม Dremafrax ที่จะช่วยแก้ไขปัญหากวนใจของคุณได้  หน้าท้องเกิดการหย่อนไม่มี

     

    ความกระชับเราก็มีโปรแกรม Thermage ที่จะยกกระชับผิวหน้าท้องให้คุณกลับมามีหน้าท้องที่กระชับเช่น

     

    เดิม หรือหากมีปัญหาเกี่ยวกับความกระชับของน้องสาวใต้ร่มผ้ายิ่งหายห่วงเลยค่ะ ขอแนะนำ เลเซอร์

     

    กระชับรัก คืนความกระชับให้น้องสาวใต้ร่มผ้าของคุณได้อย่างแน่นอนและสามารถแก้ไขปัญหาอาการ

     

    ปัสสาวะเล็ดด้วยค่ะ

     

     

     

     

     

      เพิ่มเพื่อน

     

     

     

    ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณและ

     

     

     

    ศัลยกรรมความงาม มากกว่า 10 ปี

    เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 - 21.00น

    ปรึกษาสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005

     

     

     

     

     

     

    อ่าน 3183 ครั้ง

ข่าวสารและกิจกรรมสตาร์คลินิก (Star Clinic) | ข่าวสารและกิจกรรมอัพเดท