Callcenter: 088-004-0005

Line ID: @starclinic

Open Daily 11:00 - 21:00

เว็บไซต์นี้สำหรับสมาชิกสตาร์คลินิกเท่านั้น

โรคที่คุณแม่ต้องระวังระหว่างตั้งครรภ์โรคที่คุณแม่ต้องระวังระหว่างตั้งครรภ์

  • คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มราต้องยิ่งดูแลเป็นพิเศษ เพราะอาจจะส่งผลถึงลูกน้อยในครรภ์ได้ แล้วมีโรค

     

    อะไรบ้างล่ะที่คุณแม่จะมือใหม่หรือมือเก่าควรระวังและคอยสังเกตุอาการตัวเองเอาไว้

     

     

     

     

    1.โรคโลหิตจาง

                   

     

    อาการ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มึนงง หน้ามืด เวียนศรีษะและมักมีอาการเบื่อ

     

    อาหารร่วมด้วย

                   

    สาเหตุ มี 2 ชนิด คือ โรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก กับเลือดจางโรคเลือดทารัสซีเมีย อีกทั้งคุณแม่

     

    ตั้งครรภ์มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นกว่าคนปกติ เพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

                    

    การป้องกัน ก่อนตั้งครรภ์ควรมีการตรวจเช็คร่างกายว่ามีภาวะโลหิตจาง ถ้าเป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุ

     

    เหล็ก ควรกินอาหารเสริมให้ร่างกายเป็นปกติก่อนจึงตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยอาหารที่มีธาตุ

     

    เหล็กมาก เช่น ตับ เลือดหมู นม ไข่ ส่วนโรคโลหิตจางจากโรคเลือดทารัสซีเมียสามารถตรวจคัดกรองได้

     

    ว่าลูกจะเสี่ยงไหม โดยการตรวจเลือดของพ่อแม่ว่าเป็นพาหะหรือไม่

     

     

    2.โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

                   

     

    อาการ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษา

     

    ส่วนน้อยอาจมีอาการมึนท้ายทอย เวียนศรีษะ หรือหากเป็นมากอาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น

     

    นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัวหรือมีเลือดกำเดาไหล

                   

    สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จะพบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุน้อยหรืออายุมาก และมักพบในการตั้ง

     

    ครรภ์แรก นอกจากนั้นสามารถพบได้ในตั้งครรภ์แฝดหรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวที่แม่เคยเป็นโรคนี้

     

    ขณะตั้งตั้งครรภ์

                   

    การป้องกัน ควรจะตั้งครรภ์ในอายุที่เหมาะสม ฝากครรภ์และปรึกษาแพทย์ เพื่อจะสามารถตรวจพบตั้งแต่

     

    แรกและให้การรักษาได้ทันท่วงที

     

     

     

     

     

    3.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

                    

     

    อาการ ปัสสาวะกะปริดกะปรอย รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีอาการปวดที่ท้องน้อย

     

    ร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีหมักใส แต่บางรายอาจขุ่นหรือมีเลือดปน

                   

    สาเหตุ จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ระบบทางเดินปัสสาวะจะทำงานมากขึ้นกว่าเดิม ท่อ

     

    ไตจะเกิดการยืดขยายและเคลื่อนไหวได้ช้าลงกว่าเดิม กระเพาะปัสสาวะจะมีความจุน้อยลงจากการกด

     

    เบียดของมดลูกไปดันกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะทำงานได้ไม่ดี มีคั่งค้างนาน หรืออั้นกั้น

     

    ปัสสาวะนานๆ จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

     

    การป้องกัน พยายามดื่มน้ำมากๆ และระวังตัวอย่าอั้นปัสสาวะ การอั้นปัสสาวะนานๆทำให้เชื้อโรคอยู่ใน

     

    กระเพาะปัสสาวะ ทำให้สามารถเจริญแพร่พันธ์ได้ และหลังถ่ายอุจจาระควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความ

     

    สะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้องกันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ รวมทั้ง

     

    การดูแลความสะอาดของกางเกงในและไม่รัดอึดอัด ระบายอากาศได้ดี

     

     

    4.ภาวะแพ้ท้อลง

                  

    สาเหตุ ภาวะตั้งครรภ์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

     

    ต่างๆ หลายชนิดที่รกสร้าง และการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ทำให้เกิดอาการที่พบร่วมกันในคุณ

     

    แม่ตั้งครรภ์และอาจทำให้เกิดโรคและภาวะผิดปกติในคุณแม่ตั้งครรภ์บางราย

     

     

    อาการ ระยะแรกมักมีอาการอ่อนเพลีย เต้านมคัดและเจ็บ ปัสสาวะบ่อย และมีอาการเบื้ออาหารหรืออยาก

     

    อาหารมากขึ้น ร่วมกับมีประวัติขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนเลยกำหนดเป็นสัปดาห์ ส่วนผู้ที่มีอาการแพ้

     

    ท้องมักมีอาการคลื่นไส้

     

    การป้องกัน

     

    - ควรกินอาหารพวกโปรตีน อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ผักและผลไม้ให้มากๆ

     

    - งดเแอลกอฮอล์และบุหรี่

     

    - พักผ่อนให้มากขึ้น เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้นควรนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการนอนหงาย เพราะมดลูกอาจกดหลอด

     

    เลือดใหญ่และท่อเลือดดำ

     

    -ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป

     

    -หลีกเลี่ยงการใส่ร้องเท้าส้นสูง เพราะอาจทำให้ปวดหลังได้

     

     

     

     

     

    5.โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

                    

     

    อาการ ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการบ่งบอกของโรคจะทราบก็ต่อเมื่อเข้ามารับการตรวจคัดกรอง โดยสูติ

     

    นรีแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงและกำหนดเวลาที่ควรตรวจคัดกรองเบาหวาน

                    

    สาเหตุ ขณะตั้งครรภ์ รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งเข้าไปในร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะดื้อต่อ

     

    อินซูลิน เป็นเหตุให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นเบาหวานได้ หลังคลอดระดับน้ำตาลในเลือดคุณ

     

    แม่มักจะกลับสู่ปกติ

     

    การป้องกัน ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงเวลาตั้งครรภ์ต้องรีบไปฝากครรภ์ ถ้าตรวจพบจะได้รักษาและปฏิบัติตัวอย่าง

     

    ถูกต้อง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อน ควรไปรับการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด

     

    เพื่อดูว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) หรือไม่ ถ้าพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแล

     

    จากสูตินรีแพทย์อย่างจริงจัง

     

     

     

     

     

     

    หากสังเกตุอาการของตัวเองแล้วพบว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวข้องกับด้านบน หรือมีอาการผิดแกติเกี่ยว

     

    กับร่างกายคุณแม่ ให้รีบเข้าพบแพทย์จะดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยนั่นเองค่ะ

     

     

     

     

      เพิ่มเพื่อน

     

     

     

    ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณและ

     

     

     

    ศัลยกรรมความงาม มากกว่า 10 ปี

    เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 - 21.00น

    ปรึกษาสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005

     

     

     

     

     

     

     

    อ่าน 892 ครั้ง

ข่าวสารและกิจกรรมสตาร์คลินิก (Star Clinic) | ข่าวสารและกิจกรรมอัพเดท