Callcenter: 088-004-0005

Line ID: @starclinic

Open Daily 11:00 - 21:00

เว็บไซต์นี้สำหรับสมาชิกสตาร์คลินิกเท่านั้น

ป้องกันกระดูกพรุนได้ง่ายๆป้องกันกระดูกพรุนได้ง่ายๆ

  • โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่ปริมาณแร่ธาตุ ในกระดูกลดลง ร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็น

     

    โครงสร้างภายในกระดูก ทำให้เนื้อหรือมวลกระดูกลดความหนาแน่น จึงเปราะบางแตกหักง่าย บริเวณที่พบ

     

    การหักของกระดูกได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ สะโพก และสันหลัง

     

     

     

     

    โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการมีพฤติกรรม

     

    สุขภาพที่ดี เช่น กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับแสงแดดอ่อนๆ เป็นประจำ ไม่สูบ

     

    บุหรี่ ไม่ดื่มสุราจัด เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ ควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยหนุ่มสาว

     

     

     

     

    การป้องกันโรคกระดูกพรุน

     

    1. กินแคลเซียมให้พอเพียงทุกวัน อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น

     

    ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียวเข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพู) งาดำคั่ว

     

     

     

     

    2. ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังที่มีการถ่วงหรือต้านน้ำหนัก (weight

     

    bearing) เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก

     

    จะช่วยให้มีมวลกระดูกมากขึ้น และกระดูกมีความแข็งแรง ทั้งแขน ขา และกระดูกสันหลัง

     

     

     

     

    3. รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูก ในบ้านเราคน

     

    ส่วนใหญ่จะได้รับแสงแดดเพียงพออยู่แล้ว นอกจากในรายที่อยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา ก็ควรจะออกไปรับ

     

    แสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าหรือยามเย็น วันละ 10-15 นาที สัปดาห์ละ 2-3 วัน ถ้าอยู่แต่ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดด

     

    อาจต้องกินวิตามินดีเสริมร่วมด้วย

     

     

    4. รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อย เสี่ยงต่อกระดูก

     

    พรุนได้

     

     

     

     

    5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น

     

    - ไม่กินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะอาหารพวกนี้จะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออก

     

    ทางปัสสาวะมากเกินปกติ

     

    - ไม่กินอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะเกลือโซเดียมจะทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อย

     

    ลง และเพิ่มการขับแคลเซียมทางไตมากขึ้น

     

     

     

     

    - ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น

     

    - หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์และกาเฟอีนใน

     

    เครื่องดื่มเหล่านี้จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้

     

     

     

     

     

     

     

     

      เพิ่มเพื่อน

     

     

     

    ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณและ

     

     

     

    ศัลยกรรมความงาม มากกว่า 10 ปี

    เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 - 21.00น

    ปรึกษาสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005

     

     

     

     

     

    อ่าน 1110 ครั้ง

ข่าวสารและกิจกรรมสตาร์คลินิก (Star Clinic) | ข่าวสารและกิจกรรมอัพเดท